เมนู

ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ คาถาแม้นี้ก็เป็นอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วว่า
ภิกษุย่อมบรรลุประเภทแห่งปริยัติ
สมบัติ และแม้วิบัติอันใด ในปิฎกใด โดย
ประการใด พึงเจริญเนื้อความแม้นั้น
ทั้งหมด ด้วยประการนั้น.

บัณฑิต ครั้นทราบปิฎกทั้งหลายโดยประการต่าง ๆ ด้วยอาการอย่างนี้
แล้วพึงทราบพุทธพจน์แม้ทั้งหมดที่ประมวลมาด้วยสามารถแห่งปิฎกเหล่านั้นว่า
เป็นปิฎก 3 ดังนี้.

พุทธพจน์มี 5 นิกาย



พระพุทธพจน์ว่าโดยนิกาย มี 5 นิกาย อย่างไร ? จริงอยู่ พระพุทธพจน์
นั้น แม้ทั้งหมดมี 5 ประเภท คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย
อังคุตตรนิกาย ขุททกนิกาย.

ว่าโดยทีฆนิกาย 34 สูตร



บรรดานิกายทั้ง 5 นั้น ทีฆนิกายเป็นไฉน ? พระสูตร 34 สูตร
มีพรหมชาลสูตรเป็นต้น รวบรวมไว้ 3 วรรค เรียกว่า ทีฆนิกาย ดังคาถา
ที่ท่านประพันธ์ไว้ว่า
พระสูตร 34 สูตรเท่านั้น มี 3 วรรค
ท่านรวบรวมไว้สำหรับนิกายใด นิกายนั้น
ชื่อว่า ทีฆนิกาย นับตามลำดับ เป็นนิกาย
ที่หนึ่ง.

ถามว่า เพราะเหตุไร นิกายที่หนึ่งนี้ จึงเรียกว่า ทีฆนิกาย ?
ตอบว่า เพราะเป็นที่ประชุม และเป็นที่อาศัยอยู่แห่งพระสูตรทั้งหลาย
ขนาดยาว.
จริงอยู่ ที่เป็นที่ประชุม หรือที่เป็นที่อาศัยอยู่ ก็เรียกว่า นิกาย. ก็ใน
ข้อนี้มีคำสาธก (ตัวอย่าง) ทั้งทางพระศาสนาและทางโลก ดังในประโยค
มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นนิกายอื่นแม้สักอย่างหนึ่งที่
วิจิตร เหมือนพวกสัตว์เดียรัจฉานนี้ คือ นิกายของสัตว์เล็ก ๆ ที่รวมกันอยู่ 1
นิกายของสัตว์ที่อยู่ตามโคลนตม 1. และพึงทราบเนื้อความแห่งถ้อยคำในความ
เป็นนิกายแม้แห่งนิกาย (4 นิกาย) ที่เหลือ โดยประการที่กล่าวมาแล้ว.

ว่าโดยมัชฌิมนิกาย 152 สูตร



มัชฌิมนิกาย เป็นไฉน ? พระสูตร152 สูตร มีมูลปริยายสูตร
เป็นต้น ท่านรวบรวมไว้ 15 วรรค เป็นพระสูตรขนาดปานกลาง ชื่อว่า
มัชฌิมนิกาย ดังคาถาที่ท่านประพันธ์ไว้ว่า
พระสูตร 152 สูตร มีในนิกายใด
นิกายนั้น ชื่อว่า มัชฌิมนิกาย ท่านรวบรวม
ไว้ 15 วรรค.


ว่าโดยสังยุตตนิกายเป็นต้น



สังยุตตนิกาย เป็นไฉน ? พระสูตร 7,762 สูตร มีโอฆตรณสูตร
เป็นต้น ที่จัดตั้งไว้ด้วยสามารถแห่งเทวตาสังยุตเป็นต้น เรียกว่า สังยุตตนิกาย
ดังคาถาที่ท่านประพันธ์ไว้ว่า
พระสูตร 7,762 สูตร มีในนิกายใด
นิกายนั้น ท่านรวบรวมไว้เป็นสังยุตตนิกาย.